Category Archives: จังหวัดราชบุรี
จังหวัดราชบุรี
จังหวัดราชบุรี ราชบุรี เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตก โดยเป็นศูนย์กลางในด้านอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรและการปศุสัตว์ของประเทศ ทิศเหนือติดต่อจังหวัดกาญจนบุรี ทิศใต้ติดต่อจังหวัดเพชรบุรี ทิศตะวันออกติดต่อจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดนครปฐม และทิศตะวันตกติดต่อประเทศพม่า จังหวัดราชบุรีเป็นจังหวัดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก
ภูมิศาสตร์[แก้]
อาณาเขต[แก้]
ตามภูมิศาสตร์ที่ตั้ง จังหวัดราชบุรีเป็นจังหวัดที่ถูกจัดให้อยู่ในภาคตะวันตกของประเทศไทย แต่หากการแบ่งแบบการปกครอง กรมทางหลวง กรมอุตุนิยมวิทยาและการท่องเที่ยว จะถูกจัดอยู่ในภาคกลาง มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดข้างเคียงได้ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอท่าม่วง และอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอกำแพงแสน อำเภอเมืองนครปฐม และอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม; อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร; อำเภอบางคนที อำเภออัมพวา และ อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเขาย้อยและอำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับภาคตะนาวศรี ประเทศพม่า
ภูมิประเทศ[แก้]
- พื้นที่ภูเขาสูง อยู่บริเวณชายแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศพม่า และด้านใต้ติดกับจังหวัดเพชรบุรี มีสภาพเป็นเทือกเขาสูง อุดมไปด้วยป่าดิบเขา ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าไผ่ ในระดับความสูง ตั้งแต่ 200 เมตร ถึง 1,400 เมตร ในเขตอำเภอสวนผึ้ง อำเภอบ้านคา และอำเภอปากท่อด้านตะวันตก
- พื้นที่ราบสูง ได้แก่บริเวณถัดจากเทือกเขามาทางด้านตะวันออก กลางของพื้นที่จังหวัดป็นที่ราบสูงและที่เนินลอนลาด มีแม่น้ำภาชี และลำห้วยสาขา เป็นสายน้ำหลัก สภาพเนื้อดิน เป็นดินปนทรายมีการชะล้างพังทลายของหน้าดินค่อนข้างสูงถึงปานกลาง อยู่ในเขตอำเภอสวนผึ้ง อำเภอบ้านคา อำเภอจอมบึง และด้านตะวันตกของอำเภอปากท่อ อำเภอเมืองราชบุรี อำเภอโพธาราม และอำเภอบ้านโป่ง
- ที่ราบลุ่ม ได้แก่บริเวณสองฝั่งแม่น้ำแม่กลอง และด้านตะวันออกของพื้นที่จังหวัด เนื้อดินเป็นดินร่วนและดินร่วนปนดินเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์ มีระบบชลประทานแม่กลอง ที่เป็นระบบชลประทานขนาดใหญ่มากด้วย
- ที่ราบลุ่มต่ำ ได้แก่ตอนปลายของแม่น้ำแม่กลองที่ติดต่อกับจังหวัดสมุทรสงคราม อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลกลางเพียง 1-2 เมตร ดินจะมีความสมบูรณ์ เหมาะแก่การทำสวนผักผลไม้[4]
ทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งน้ำ[แก้]
- ทรัพยากรป่าไม้ มีพื้นที่ป่าเหลืออยู่ประมาณ 1,239,236 ไร่ หรือ 38.16% ของพื้นที่จังหวัด ป่าไม้ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่เขาและเทือกเขาตะนาวศรี
- แหล่งน้ำ แหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำแม่กลองไหลผ่านจังหวัดราชบุรี มีความยาวในเขตจังหวัดราชบุรี 67 กิโลเมตร และแม่น้ำสาขา ได้แก่ แม่น้ำภาชีต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาตะนาวศรีในเขตอำเภอบ้านคา ไหลผ่านอำเภอสวนผึ้ง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรียังมีคลองสำคัญได้แก่ คลองดำเนินสะดวกที่ขุดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อเชื่อมแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำแม่กลอง โดยเริ่มจากตำบลสวนส้ม อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ผ่านอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี บรรจบกับแม่น้ำแม่กลอง ที่ตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม มีความยาวตลอดลำคลอง 35 กิโลเมตร และลำคลองสาขาอีกกว่า 200 คลอง และมีอ่างเก็บน้ำ ดังต่อไปนี้
- อ่างเก็บน้ำโป่งกระทิง หมู่บ้านโป่งกระทิง ต.บ้านบึง
- อ่างเก็บน้ำห้วยท่าเคย หมู่บ้านบ้านบึง ต.บ้านบึง
- อ่างเก็บน้ำห้วยมะหาด หมู่บ้านซ้ายแดง ต.หนองพันจันทร์
- อ่างเก็บน้ำชัฎป่าหวาย หมู่บ้านท่าเคย ต.ท่าเคย
- อ่างเก็บน้ำห้วยสำนักไม้เต็ง หมู่บ้านน้ำพุ ต.น้ำพุ เป็นอ่างเก็บน้ำที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดราชบุรี
การเมืองการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

จังหวัดราชบุรีแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็น 10 อำเภอ[5] 104 ตำบล และ 975 หมู่บ้าน
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 จังหวัดราชบุรีมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 112 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี เทศบาล 36 แห่ง แบ่งเป็นเทศบาลเมือง 5 แห่ง ได้แก่ จอมพล ท่าผา บ้านโป่ง โพธาราม และราชบุรี เป็นเทศบาลตำบล 31 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 75 แห่ง
ตราประจำจังหวัด[แก้]
ความหมายของตราประจำจังหวัด เครื่องราชกกุธภัณฑ์ 2 อย่างคือ
- ภาพฉลองพระบาทอยู่บนพานทอง
- ภาพพระแสงขรรค์ชัยศรี ซึ่งวางอยู่บนพระที่
ทั้งนี้ก็เพราะชื่อจังหวัดราชบุรีแปลว่า เมืองของพระราชา
การเดินทาง[แก้]
- รถยนต์ ใช้เส้นทาง สายเก่าสายเพชรเกษม ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านบางแค- อ้อมน้อย – อ้อมใหญ่ – นครชัยศรี – นครปฐม – ราชบุรี หรือใช้เส้นทางสายใหม่ เส้นทางหลวงหมายเลข 338 จากกรุงเทพ – พุทธมณฑล – นครชัยศรี เข้าถนนเพชรเกษมบริเวณอำเภอนครชัยศรีก่อนถึงตัวเมืองนครปฐมประมาณ 16 กิโลเมตรจากนั้นใช้ถนนเพชรเกษมตรงไปตัวเมืองราชบุรี
- รถโดยสารประจำทางบริษัท ขนส่งจำกัดมีบริการเดินรถจากสถานีขนส่งสายใต้ ไปจังหวัดราชบุรีทุกวัน วันละหลายเที่ยวใช้เวลา
- รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทยมีบริการรถไฟออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) และสถานีรถไฟธนบุรี (บางกอกน้อย) ทุกวันใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง (ตั้งแต่เวลา 00.50-21.50 น.)
ระยะทางจากตัวจังหวัดไปยังอำเภอต่างๆ[แก้]
- อำเภอวัดเพลง 18 กิโลเมตร
- อำเภอปากท่อ 21 กิโลเมตร
- อำเภอโพธาราม 23 กิโลเมตร
- อำเภอดำเนินสะดวก 25 กิโลเมตร
- อำเภอบางแพ 29 กิโลเมตร
- อำเภอจอมบึง 30 กิโลเมตร
- อำเภอบ้านโป่ง 43 กิโลเมตร
- อำเภอสวนผึ้ง 56 กิโลเมตร
- อำเภอบ้านคา 59 กิโลเมตร
ประชากร[แก้]
ชาวไทยที่เป็นประชากรของราชบุรีตามกลุ่มวัฒนธรรมต่างๆ มีอยู่เป็นหย่อมย่าน ถ้ามีการรวมกลุ่มกันอย่างหนาแน่น ทำให้เกิดการแสดงออกทางประเพณี วัฒนธรรม และความเชื่อ ถ้าชุมชนที่มีกลุ่มคนตามวัฒนธรรมนั้นอยู่เบาบาง ก็ไม่สามารถแสดงออกทางวัฒนธรรมได้อย่างเต็มที่ บางครั้งก็ถูกกลุ่มวัฒนธรรมหลักชักนำหรือถูกกลืนกลายให้เสื่อมสูญไปจากสังคมก็มี ข้อมูลต่อไปนี้แสดงถึงพื้นที่อยู่อาศัยของผู้คนตามวัฒนธรรมต่างๆ
- ไทยพื้นถิ่นราชบุรี
- ไทยเชื้อสายจีน
- ไทยวน (อ่านว่า ไท-ยวน)
- มอญ
- เขมร
- ลาวเวียง
- กะเหรี่ยง
- ไทดำ (ไทยทรงดำ หรือชาวโซ่ง)
การศึกษา[แก้]
สถาบันอุดมศึกษา[แก้]
- มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง และ ศูนย์การเรียนรู้ในเมือง ต.ดอนตะโก อ.เมือง
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขตราชบุรี
- วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
- วิทยาลัยพยาลบาลบรมราชชนนีจักรีรัช บ้านโป่ง
สถาบันอาชีวศึกษา[แก้]
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาดรุณาราชบุรี
- วิทยาลัยเทคโนโลยีดรุณาโปลีเทคนิค
- วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี
- วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี แห่งที่ 2
- วิทยาลัยเทคนิคโพธาราม
- วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีราชบุรี
- วิทยาลัยการอาชีพปากท่อ
- วิทยาลัยสารพัดช่างราชบุรี
- วิทยาลัยการอาชีพบ้านโป่ง
- วิทยาลัยเทคโนโลยีบ้านโป่งบริหารธุรกิจ
- วิทยาลัยเทคโนโลยีดอนบอสโก บ้านโป่ง
โรงเรียน[แก้]
เศรษฐกิจ[แก้]


จังหวัดราชบุรี เป็นจังหวัดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก จากการประกาศของคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ราชบุรีมีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) ปี 2562 คิดเป็นมูลค่า 201,571 ล้านบาท[6] เป็นอันดับ 18 ของประเทศ และมีรายได้ต่อประชากรต่อปี (GPP PER CAPITA) 248,028 บาท เป็นอันดับที่ 13 ของประเทศ
จังหวัดราชบุรี มีธุรกิจการค้าประเภทสินค้าเกษตร และผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร เป็นโครงสร้างหลักทางเศรษฐกิจ โดยมีตลาดกลางผักผลไม้ มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก โดยเป็นหนึ่งในตลาดกลางสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุด แห่งหนึ่งของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมือง และมีการเลี้ยงปศุสัตว์ มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ เช่น สุกร โคเนื้อโคนม ไก่ เป็นต้น มีมากในเขตอำเภอปากท่อ และอำเภอโพธาราม
เป็นศูนย์กลางด้านพลังงาน มีโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่หลายแห่ง มีกำลังผลิตไฟฟ้ามากเป็นลำดับต้นๆของประเทศ และอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมน้ำตาล และอุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นต้น ปัจจุบันมีโรงงานทั้งสิ้น 1,923 โรงงาน (2562) เงินลงทุนรวมประมาณ 117,025 ล้านบาท จ้างแรงงาน 71,308 คน พื้นที่อุตสาหกรรมหลักอยู่ที่ อำเภอบ้านโป่ง และจังหวัดราชบุรีเป็น 1 ใน 18 จังหวัดที่มีนิคมอุตสาหกรรม ของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ อำเภอโพธาราม ศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญจะกระจายอยู่ใน พื้นที่ชุมชนเมืองใหญ่ ได้แก่ เมืองราชบุรี เมืองบ้านโป่ง เมืองโพธาราม เป็นต้น โดยเป็นที่ตั้งสำนักงานภาค สำนักงานเขต ของหน่วยงานราชการ และบริษัทเอกชนชั้นนำหลายๆ แห่ง เช่น ปตท. โตโยต้า เป็นต้น