Category Archives: จังหวัดกาญจนบุรี
จังหวัดกาญจนบุรี
จังหวัดกาญจนบุรี กาญจนบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกของประเทศไทย มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 19,473 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองจากจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดเชียงใหม่ และมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก มีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 129 กิโลเมตร
จังหวัดกาญจนบุรี มีชายแดนติดต่อกับประเทศพม่าระยะทางประมาณ 370 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ ทิศเหนือ จรดจังหวัดตากและจังหวัดอุทัยธานี ทิศใต้ จรดจังหวัดราชบุรี ทิศตะวันออก จรดจังหวัดสุพรรณบุรีและนครปฐม ทิศตะวันตก จรดประเทศพม่า
ประวัติ[แก้]
ความเป็นมาของจังหวัดกาญจนบุรี เท่าที่มีการค้นพบหลักฐานนั้น ย้อนไปได้ถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อมีการค้นพบเครื่องมือหินในบริเวณบ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี ล่วงมาถึงสมัยทวารวดี ซึ่งมีหลักฐานคือซากโบราณสถานที่ตำบลปรังเผล อำเภอสังขละบุรี เป็นเจดีย์ลักษณะเดียวกับจุลประโทนเจดีย์ที่จังหวัดนครปฐม บ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี และเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี รวมทั้งค้นพบโบราณวัตถุ เช่น พระพิมพ์สมัยทวารวดีจำนวนมาก[3]
สืบเนื่องต่อมาถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ 16-18 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นพบในจังหวัดกาญจนบุรี คือปราสาทเมืองสิงห์ ซึ่งมีรูปแบบศิลปะแบบขอม[3] สมัยบายน

ภูมิศาสตร์[แก้]
อาณาเขตติดต่อ[แก้]
ตามภูมิศาสตร์ที่ตั้ง จังหวัดกาญจนบุรีเป็นจังหวัดที่อยู่ในภาคตะวันตก แต่ในทางการปกครองแบบ 4 ภูมิภาค (เหนือ อีสาน กลาง ใต้)และกรมอุตุนิยมวิทยา จะถูกจัดอยู่ในภาคกลาง มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ 5 จังหวัด ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดกับ อำเภออุ้มผาง (จังหวัดตาก) อำเภอบ้านไร่ (จังหวัดอุทัยธานี) รัฐมอญและรัฐกะเหรี่ยง (ประเทศพม่า)
- ทิศตะวันออก ติดกับ อำเภอบ้านไร่ (จังหวัดอุทัยธานี) อำเภอด่านช้าง อำเภอหนองหญ้าไซ อำเภอดอนเจดีย์ อำเภออู่ทองและ อำเภอสองพี่น้อง(จังหวัดสุพรรณบุรี)
- ทิศใต้ ติดกับ อำเภอกำแพงแสน (จังหวัดนครปฐม) อำเภอสวนผึ้ง อำเภอจอมบึง อำเภอโพธารามและ อำเภอบ้านโป่ง(จังหวัดราชบุรี)
- ทิศตะวันตก ติดกับรัฐมอญ และภาคตะนาวศรี (ประเทศพม่า) โดยมีแนวเขาสำคัญแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับพม่าคือทิวเขาถนนธงชัย และทิวเขาตะนาวศรี
ภูมิประเทศ[แก้]
ลักษณะภูมิประเทศจังหวัดกาญจนบุรี แบ่งออกได้ 3 ลักษณะดังนี้
- เขตภูเขาและที่สูง พื้นที่ทางด้านทิศเหนือของจังหวัด ได้แก่ บริเวณอำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ อำเภอศรีสวัสดิ์ และอำเภอไทรโยค มีลักษณะเป็นเทือกเขาต่อเนื่องมาจากเทือกเขาถนนธงชัยถัดไปทางด้านตะวันตกของจังหวัด เทือกเขาตะนาวศรีซึ่งกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับประเทศพม่าทอดยาวลงไปทางด้านใต้ บริเวณนี้จะเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำที่สำคัญของจังหวัด คือ แม่น้ำแควใหญ่ และแม่น้ำแควน้อย ซึ่งในแถบนี้จะมีรอยเลื่อนอยู่หลายรอยและมักเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่บ่อยครั้ง
- เขตที่ราบลูกฟูก ได้แก่ พื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีลักษณะเป็นที่ราบเชิงเขาสลับกับเนินเขาเตี้ย ๆ อยู่บริเวณอำเภอเลาขวัญ อำเภอบ่อพลอย และบางส่วนของอำเภอพนมทวน
- เขตที่ราบลุ่มน้ำ ได้แก่ พื้นที่ทางด้านใต้ของจังหวัด ลักษณะเป็นที่ราบ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ อยู่บริเวณอำเภอท่ามะกา อำเภอท่าม่วง และบางส่วนของอำเภอพนมทวน อำเภอเมืองกาญจนบุรี
ภูมิอากาศ[แก้]
- ฤดูร้อน ระหว่างกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม มีลมฝ่ายใต้พัดมาปกคลุม ทำให้มีอากาศร้อนอบอ้าวทั่วไป โดยมีอากาศร้อนจัดอยู่ในเดือนเมษายน
- ฤดูฝน ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน ในระยะนี้เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุม ทำให้มีฝนตกชุกโดยตกชุกที่สุดในเดือนกันยายน
- ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยในช่วงนี้ ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนและลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุม ทำให้อากาศหนาวเย็นและความแห้งแล้งแผ่ปกคลุมจังหวัดกาญจนบุรี
จังหวัดกาญจนบุรีมีอุณหภูมิต่ำสุดโดยเฉลี่ย 22.7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ย 36.0 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำที่สุดวัดได้ 3.7 องศาเซลเซียส (เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2517) อุณหภูมิสูงสุดที่วัดได้ 44.2 องศาเซลเซียส (เมื่อ 12 เมษายน พ.ศ. 2559) และมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1496.2 มิลลิเมตรต่อปี
ธรณีวิทยา[แก้]
ในด้านทรัพยากรดิน พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดกาญจนบุรีมีภูเขาสลับซับซ้อน พื้นที่ที่เหมาะสำหรับเกษตรกรรมคือ ที่ราบระหว่างภูเขาซึ่งมีแม่น้ำและลำน้ำสายต่าง ๆ ไหลผ่าน เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีหินปูน หินแกรนิต หินแกรไนโอออไรท์ หินไนล์ หินดินดาน หินควอทโซฟีลไลท์ เป็นวัตถุต้นกำเนิดดิน ที่ราบระหว่างหุบเขาและสองฝั่งแม่น้ำจึงมีลักษณะเป็นตะกอนที่เกิดจากการสลายตัวของหินดังกล่าวแล้วถูกน้ำพัดพามาทับถม และเนื่องจากพื้นที่ส่วนนี้มีหินปูนเป็นส่วนใหญ่ ดินจึงมีปฏิกิริยาเป็นกลางหรือเป็นด่าง มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงดี จึงเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชไร่ที่สำคัญของประเทศเช่น อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง และสับปะรด ส่วนในบริเวณที่ราบต่ำใช้ปลูกข้าวแต่มีเนื้อที่ไม่มากนัก
อุทกวิทยา[แก้]
ในด้านทรัพยากรน้ำ จังหวัดกาญจนบุรีมีแหล่งน้ำที่สำคัญ 3 ประเภทคือ
- น้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล ต้นกำเนิดของแหล่งน้ำบาดาลส่วนใหญ่มาจากน้ำฝนซึ่งตกสู่ผิวดินลงไปกับเก็บใต้ชั้นดิน พื้นที่ทางตอนบนและทางตะวันตกของจังหวัดซึ่งมีสภาพเป็นที่สูงภูเขา รองรับด้วยหินแปรปริมาณน้ำบาดาลจึงมีน้อยมาก ส่วนพื้นที่ทางตะวันออกและทางใต้ของจังหวัดเป็นที่ราบลุ่ม มีแหล่งน้ำบาดาลสามารถนำขึ้นมาใช้ได้ แต่ยังคงมีปริมาณน้อย
- น้ำผิวดิน แหล่งน้ำผิวดินมีต้นน้ำอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดถึงเขตจังหวัดอุทัยธานี ลักษณะทางน้ำเป็นร่องลึกในระหว่างหุบเขา มีธารน้ำบางสายไหลขึ้นไปทางเหนือสู่ประเทศพม่า แต่ลำธารส่วนใหญ่ไหลลงสู่แม่น้ำแควน้อยและแควใหญ่ ก่อนจะรวมตัวกันเป็นแม่น้ำแม่กลอง ส่วนด้านตะวันออกมีลำตะเพินเป็นธารน้ำสำคัญของบริเวณนี้ แหล่งน้ำผิวดินที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำแควใหญ่ (ศรีสวัสดิ์) แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำลำตะเพิน
- น้ำจากการชลประทาน จังหวัดกาญจนบุรีเป็นที่ตั้งของเขื่อนซึ่งมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่หลายแห่งเพื่อวัตถุประสงค์หลักในการผลิตกระแสไฟฟ้า แต่สิ่งที่ได้รับผลประโยชน์ตามมาคือการชลประทานที่สามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลูก ประกอบด้วย เขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนท่าทุ่งนา ในเขตอำเภอศรีสวัสดิ์ เขื่อนวชิราลงกรณ์ในอำเภอทองผาภูมิ อำเภอสังขละบุรี และเขื่อนแม่กลองในอำเภอท่าม่วง
- แหล่งน้ำที่สำคัญ
- แม่น้ำแควใหญ่ (แม่น้ำศรีสวัสดิ์)
- แม่น้ำแควน้อย (แม่น้ำไทรโยค)
- แม่น้ำแม่กลอง
- แม่น้ำบีคลี่
- แม่น้ำซองกาเลีย
- แม่น้ำรันตี
- แม่น้ำภาชี
- แม่น้ำสุริยะ (แม่น้ำทรยศ ไหลย้อนไปทางเหนือเข้าเขตพม่า)
- ทะเลสาบเขื่อนศรีนครินทร์
- ทะเลสาบเขาแหลม
- ทะเลสาบท่าทุ่งนา
หน่วยการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

จังหวัดกาญจนบุรีแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาคออกเป็น 13 อำเภอ 98 ตำบล 959 หมู่บ้าน 206 ชุมชน โดยทั้ง 13 อำเภอ มีดังนี้
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
พื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 122 แห่ง แบ่งตามประเภทและอำนาจบริหารจัดการภายในท้องที่ได้เป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี, เทศบาลเมือง 3 แห่ง (ได้แก่ เทศบาลเมืองกาญจนบุรี เทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น และเทศบาลเมืองปากแพรก), เทศบาลตำบล 46 แห่ง, และองค์การบริหารส่วนตำบล 72 แห่ง[6] รายชื่อเทศบาลทั้งหมดแบ่งตามอำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี มีดังนี้
อำเภอเมืองกาญจนบุรี
อำเภอไทรโยค
อำเภอบ่อพลอย
|
อำเภอศรีสวัสดิ์
อำเภอท่ามะกา
|
อำเภอท่าม่วง
อำเภอทองผาภูมิ
อำเภอสังขละบุรี
|
อำเภอพนมทวน
อำเภอเลาขวัญ
อำเภอด่านมะขามเตี้ย
อำเภอหนองปรือ
อำเภอห้วยกระเจา
|
การขนส่ง[แก้]
ระยะทางจากอำเภอเมืองกาญจนบุรีไปอำเภอต่าง ๆ[แก้]
- อำเภอท่าม่วง 14 กิโลเมตร
- อำเภอพนมทวน 25 กิโลเมตร
- อำเภอท่ามะกา 32 กิโลเมตร
- อำเภอด่านมะขามเตี้ย 32 กิโลเมตร
- อำเภอบ่อพลอย 40 กิโลเมตร
- อำเภอไทรโยค 50 กิโลเมตร
- อำเภอห้วยกระเจา 54 กิโลเมตร
- อำเภอหนองปรือ 76 กิโลเมตร
- อำเภอเลาขวัญ 85 กิโลเมตร
- อำเภอศรีสวัสดิ์ 125 กิโลเมตร
- อำเภอทองผาภูมิ 144 กิโลเมตร
- อำเภอสังขละบุรี 215 กิโลเมตร
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

- น้ำตกเอราวัณ – ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเอราวัณ ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100 – 400 เมตร แบ่งเป็น 7 ชั้น เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดกาญจนบุรี ความพิเศษของน้ำตกเอราวัณ คือ น้ำเป็นสีฟ้าใสอมเขียว ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 62 กม.
- วัดหินแท่นลำภาชี[9] ตั้งอยู่บ้านหินแท่น ตำบลหนองไผ่ อำเภอด่านมะขามเตี้ย เป็นวัดที่เลื่องชื่ออุโบสถที่สวยที่สุดในจังหวัดกาญจนบุรี ที่มีสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี องค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่หน้าอุโบสถ โดยอุโบสถที่สวยงามแห่งนี้เรียกว่า โบสถ์สำเภาแก้วร้อยล้าน ถูกสร้างขนาบข้างด้วยเรืออนันตนาคราชลักษมีหนึ่งเดียวในประเทศไทย
- วัดถ้ำเสือ[10] อยู่ที่ ตำบลม่วงชุม อำเภอท่าม่วง วัดและสถานที่ท่องเที่ยวตั้งอยู่บนยอดเขา สวยงามสะดุดตา เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวมหัศจรรย์ในจังหวัดกาญจนบุรี
- สะพานข้ามแม่น้ำแคว ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองกาญจนบุรี เป็นสะพานข้ามทางรถไฟสายมรณะ
- ด่านเจดีย์สามองค์ ตั้งอยู่ที่ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี เป็นจุดผ่านแดนระหว่างไทยกับพม่า มีตลาดชายแดน เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของอำเภอสังขละบุรี