Category Archives: ตำบลห้วยเขย่ง
ตำบลห้วยเขย่ง
ตำบลห้วยเขย่ง เป็นตำบลหนึ่งใน 7 ตำบลของอำเภอทองผาภูมิ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกาญจนบุรี และเป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากที่สุดของจังหวัด มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ เขื่อนวชิราลงกรณ เป็นต้น
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]
อำเภอทองผาภูมิมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียงเรียงทิศตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสังขละบุรี และอำเภออุ้มผาง (จังหวัดตาก)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบ้านไร่ (จังหวัดอุทัยธานี) และอำเภอศรีสวัสดิ์
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอไทรโยค
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับภาคตะนาวศรี (ประเทศพม่า)
ประวัติ
[แก้]
อำเภอทองผาภูมิซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านท่าขนุน ตำบลท่าขนุน มีประวัติมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเนื่องจากเคยเป็นเมืองหน้าด่าน ในสมัยโบราณเคยเป็นเส้นทางเดินทัพบกโดยปรากฏชื่อเมืองท่าขนุน ส่วนชาวกรุงเก่าเรียกชื่อเมืองทองผาภูมิว่า เมืองทองปาปุน[1]: 200 [2] และในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา มีชื่อว่า เมืองทองผาภูมิ[3]: 411 หรือ เมืองทองภาภูมิ [4]: 242 ปรากฎในเหตุการณ์พม่าเกิดศึกเมืองอังวะอันเนื่องจากกองทัพจีนฮ่อเข้าล้อมเมืองในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีรับสั่งให้มีท้องตราถึงทัพฝ่ายเหนือให้อย่าตีเมืองลำพูนและเมืองเชียงใหม่ แล้วให้ยกทัพไปตีโอบหลังทัพพม่า ณ เมืองศรีสวัสดิ์ เมืองมังคลา และเมืองทองผาภูมิ[5]: 200
เมืองทองผาภูมิได้ชื่อว่าเป็นเมือง 1 ใน 7 หัวเมืองมอญ[6]: 109 หรือเมือง รามัญ ๗ เมือง[7]: 88 เนื่องจากสมัยสงครามสมรภูมิลาดหญ้าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งหัวหน้ามอญทั้งเจ็ดรวมทั้งด่านทองผาภูมิเป็นผู้คุมทหารมอญเมืองด่านร่วมกับทหารมอญเมืองสามโคกของเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนี) มีหน้าที่ช่วยลาดตระเวนสืบข่าวการเคลื่อนไหวของพม่า เมื่อฝ่ายพม่าปราชัยต่อกองทัพหลวงของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ยกด่านทองผาภูมิขึ้นเป็น เมืองทองผาภูมิ และโปรดเกล้าฯ ให้หัวหน้ามอญทั้งเจ็ดขึ้นเป็นเจ้าเมือง “…เมืองทองผาภูมิ ให้เป็นพระทองผาภูมิ…“[6]: 110
สมัยรัชกาลที่ 2 พระทองผาภูมิ เจ้าเมืองมอญในขณะนั้นเห็นว่าการตั้งบ้านเมืองอยู่ในป่าชายแดนเมืองกาญจนบุรีมีความยากลำบาก ราษฎรขัดสน ทำนาทำไร่ไม่ได้ผล[7]: 88 จึงขอพระราชทานกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ขอพระบรมราชานุญาตย้ายครอบครัวมาที่โพธารามและบ้านโป่ง เมืองราชบุรีโดยตั้งบ้านเรือนอยู่ใต้วัดใหญ่นครชุมน์ริมแม่น้ำแม่กลอง แต่พระทองผาภูมิยังส่งทหารมอญไปดูแลและตระเวนเมืองทองผาภูมิเช่นเดิม[6]: 110
สมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้แปลงราชทินนามเจ้าเมืองรามัญทั้งเจ็ด ทรงแปลงราชทินนาม พระทองผาภูมิ เป็น พระเสลภูมิบดี ต่อมารัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินเป็นระบบมณฑลเทศาภิบาลโดยเปลี่ยนระบบเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมือง เมืองทองผาภูมิ จึงถูกเปลี่ยนแปลงเป็นอำเภอ ครั้งหนึ่งทางราชการยกให้ฐานะเป็น กิ่งอำเภอสังขละบุรี ขึ้นกับอำเภอวังกะ และให้พระศรีสุวรรณคีรี (ทะเจียงโปรย) ขุนนางเชื้อสายกะเหรี่ยงเป็นผู้ว่าราชการเมือง[6]: 111 จนกระทั่งในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2482 จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อกิ่งอำเภอสังขละบุรีเป็น กิ่งอำเภอทองผาภูมิ ส่วนอำเภอวังกะที่กิ่งอำเภอขึ้นตรงนั้นได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น “อำเภอสังขละบุรี” แทน[8] ต่อมาจึงได้มีการยกฐานะกิ่งอำเภอนี้ขึ้นมาเป็น อำเภอทองผาภูมิ ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ซึ่งในขณะเดียวกันอำเภอสังขละบุรีได้ถูกยุบลงเป็นกิ่งอำเภอสังขละบุรีอีกด้วย[9]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]
อำเภอทองผาภูมิแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 7 ตำบล 45 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ท่าขนุน | (Tha Khanun) | 5 หมู่บ้าน | |||
2. | ปิล๊อก | (Pilok) | 4 หมู่บ้าน | |||
3. | หินดาด | (Hin Dat) | 8 หมู่บ้าน | |||
4. | ลิ่นถิ่น | (Linthin) | 7 หมู่บ้าน | |||
5. | ชะแล | (Chalae) | 7 หมู่บ้าน | |||
6. | ห้วยเขย่ง | (Huai Khayeng) | 8 หมู่บ้าน | |||
7. | สหกรณ์นิคม | (Sahakon Nikhom) | 6 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]
ท้องที่อำเภอทองผาภูมิประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลทองผาภูมิ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่าขนุน
- เทศบาลตำบลสหกรณ์นิคม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสหกรณ์นิคมทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลท่าขนุน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าขนุน (นอกเขตเทศบาลตำบลทองผาภูมิ)
- เทศบาลตำบลลิ่นถิ่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลิ่นถิ่นทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลปิล๊อก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปิล๊อกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหินดาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหินดาดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลชะแล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชะแลทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยเขย่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยเขย่งทั้งตำบล